วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะแนน

ประเมินผลงาน 100 คะแนน
ขอให้เพิ่อนๆ ครู ญาติและผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
ขอขอบคุณทุกท่าน
- เพื่อนประเมินเพื่อน จำนวน 5 คน
- ส่วนญาติให้นักเรียนดำเนินการด้วยตนเองจำนวน 1 ท่าน

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
คำอธิบาย

เมื่อพิจารณาโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลสพบว่าประกอบด้วยหน่วยย่อยที่มีโครงสร้างเหมือนกันจำนวนมาก

ลและเชื่อมกันเป็นสายยาว แต่จำนวนหน่วยย่อยการสร้างพันธะของหน่วยย่อยและโซ่กิ่งในโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลสแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

มอนอแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กมาก ประกอบด้วยคาร์บอน 3 - 8 อะตอม จึงสามารถจำแนกประเภทของมอนอแซ็กคาไรด์ตามจำนวนคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบได้ เช่น ไตรโอส เทโทรส เพนโทส เฮกโซส มอนอแซ็กคาไรด์ที่พบมากในธรรมชาติที่ส่วนใหญ่เป็นเพนโทส และ เฮกโซส เพนโทสที่พบมาก ได้แก่ ไรโบส และไรบูโรส

ในธรรมชาติพบว่ามอนอแซ็กคาไรด์ส่วนใหญ่มีโครงสร้างเป็นวง เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่เสถียรกว่าโครงสร้างแบบโซ่เปิด การเปลี่ยนโครงสร้างแบบโซ่เปิดเป็นแบบวงเกิดจากปฎิกิริยาระหว่างหมู่ -C- กับหมู่ -OH ในโมเลกุลเดียวกัน ตัวอย่างการเกิดโครงสร้างแบบวงของกลูโคสและฟรักโทสแสดง

ไดแซ็กคาไรด์ เกิดจากการรวมตัวของมอนอแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุล ตัวอย่างเช่น ซูโครส เกิดจากกลูโคสรวมตัวกับฟรักโทสอย่างละ 1 โมเลกุล โดยมีพันธะไกลโคซิดิกเชื่อมต่อระหว่างมอนอแซ็กคาไรด์ทั้ง 2 โมเลกุล

พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ที่ประกอบด้วยมอนอแซ็กคาไรด์หลายๆ โมเลกุลเชื่อมต่อกันพอลิแซ็กคาไรด์ที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส และไกลโคเจน


ที่มา http://school.obec.go.th/mclschool/6.2.2/Carbohidred.htm


ตอบ 1 ไกลโคเจน เซลลูโลส แป้ง
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
อธิบาย

กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid, DNA ) พบ DNA ในโครโมโซม เป็นตัวสำคัญในการถ่ายทอด

ทางพันธุกรรมในนิวเคลียส กรดนิวคลีอิกอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid ,RNA)พบในไรโบโซม

RNA และในไซโตพลาสซึม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีน ทั้ง DNA และ RNA เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ
หน้าที่
DNA ทำหน้าที่หลักในการเก็บรักษาและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

RNA ทำหน้าที่หลักในการถ่ายทอดข้อความทางพันธุกรรมจาก DNA ไปเป็นโปรตีน
กรดนิวคลีอิกทั้ง DNA และ RNA ถูกไฮโดรไลซ์แล้ว จะให้มอนอเมอร์ เรียกว่านิวคลีโอไทด์

ถ้าไฮโดรไลซ์นิวคลีโอไทด์์ต่อไปจะให้นิวคลีโอไซด์ และกรดฟอสฟอริก นิวคลีโอไซด์ถูกไฮโดรไลซ์ต่อไปให้

เฮเทอโรไซคลิกเบสและน้ำตาลเพนโทส ซึ่งถ้าเป็น RNA เพนโทส คือ D-Ribose และ 2-Deoxyribose

ในกรณีที่เป็น DNA
กรดนิวคลีอิกสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก

(deoxyribonucleicacid, DNA ) และกรด ไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid , RNA) DNA และ RNA ตามลำดับ

มีโครงสร้างโมเลกุลพื้นฐานเป็น 3 ส่วน เหมือนกันคือ ไนโตรเจนเบส ( nitrogenous base) น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 ตัว

(น้ำตาลไรโบส และ ดีออกซีไรโบส)และหมู่ฟอสเฟต

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/28/P_Untitled-31.html

ตอบ ข้อ 2 ค่ะ
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
อธิบาย

กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน

สูตรทั่วไป


กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์


สมบัติของกรดอะมิโน

1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี

2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์

3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน

4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substance


การเกิดพันธะเพปไทด์

พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง


สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้

ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/amino.html

ตอบ ข้อ 2 ค่ะ
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
อธิบาย

กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน

สูตรทั่วไป


กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์


สมบัติของกรดอะมิโน

1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี

2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์

3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน

4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substance


การเกิดพันธะเพปไทด์

พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง


สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้

ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/amino.html

ตอบ ข้อ 2 ค่ะ
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
อธิบาย

กรดไขมัน (Fatty Acids)
กรดไขมันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนทุกตัวในโมเลกุลไม่สามารถจับกับไฮโดรเจนเพิ่มได้
และไม่สามารถจะจับกับสารใดๆ ได้อีก ไขมันอิ่มตัวมักได้มาจากสัตว์ ซึ่งมีลักษณะแข็งตัวได้แม้ในอุณหภูมิปกติ เช่น เนยแข็ง
น้ำมันหมู ช็อคโกแลต เป็นต้น โดยพวกนี้จะมีไขมันที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดจับตัว
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลสามารถเกาะกับไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นได้
กรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
2.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก
น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มี
ลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอ
รอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือด
แดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และ
พบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จาก
กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้น หากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไป
จะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่
ระหว่าง 70-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

ที่มา http://www.nautilus.co.th/health_nutrition/tips_fatty.asp

ตอบ ข้อ4 ค่ะ
อธิบาย

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี ซึ่งมีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ พืชใช้พลังงานจากแสงแดดในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำซึ่งดูดจากดิน และจะสะสมอาหารในส่วนต่างๆของพืช เช่น เมล็ด ใบ หัว ลำต้น ชนิดของคาร์โบไฮเดรตมีหลายชนิด จัดเป็นพวกใหญ่ๆได้ดังนี้

น้ำตาลชั้นเดียว (โมโนแซคคาไรด์) มีโมเลกุลเล็กที่สุด มีรสหวาน และละลายน้ำได้ เช่น กลูโคส ฟรุกโตส(ได้มาจากผลไม้) กาแลคโตส(ได้มาจากการสลายตัวของแลกโตสในนม)

น้ำตาล 2 ชั้น (ไดแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียว2โมเลกุลมารวมกัน จึงจัดเป็นน้ำตาล2ชั้น มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส(กลูโคส+ฟรุกโตส) แลกโตส(กลูโคส+กาแลกโตส) มอลโตส(กลูโคส+กลูโคส)

น้ำตาลหลายชั้น (โพลีแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดียวมากกว่าสองโมเลกุลมารวมกัน ไม่มีรสหวานและไม่ละลายน้ำ พืชและสัตว์มักเก็บคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลหลายชั้น เช่น แป้งในพืช ไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลสในพืช



หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต

ให้พลังงานและความร้อน คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี

ช่วยให้การใช้ไขมันในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ ถ้าคาร์โบไฮเดรตมีไม่เพียงพอในอาหาร การใช้ไขมันในร่างกายจะไม่สมบูรณ์ด้วย

คาร์โบไฮเดรตบางชนิด เช่น กลูโคส เป็นอาหารของเซลล์และเนื้อเยื่อในสมอง

โมเลกุลของกลูโคส ใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนในร่างกาย

ร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่เหลือเป็นไขมันได้ และจะถูกสะสมในร่างกาย ดังนั้นไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/carbohydrate.html

ตอบ ข้อ1 ค่ะ